|

วิธีตั้งค่าพื้นฐาน และติดตั้ง Theme กับติดตั้ง ปลั๊กอิน หลังติดตั้ง WordPress

สวัสดีครับเพื่อนๆ

อย่างที่สัญญากันไว้ในบทความก่อนหน้านี้ว่า ผมจะมาบอกวิธีการตั้งค่า ติดตั้งปลั๊กอิน และติดตั้ง Theme ให้กับ wordpress ครับ

ก่อนอื่นเลยให้เพื่อนๆ Log in เข้าระบบหลังบ้านของ WordPress โดยเข้าในเว็บเบราว์เซอร์ จากนั้นก็พิมพ์ https://ชื่อโดเนมของคุณ/wp-admin จากนั้นก็ใส่ Username, Password (ตอนที่ติดตั้ง wordpress)ลงไป จานั้นก็คลิกตรงที่”เข้าสู่ระบบ “

ตัวอย่าง https://siamshop.com/wp-admin

การตั้งค่าพื้นฐาน wordpress

1.1 ตั้งค่า ชื่อเว็บ และ คำโปรย

ไปที่เมนูด้านซ้าย ไปที่ ตั้งค่า > คลิก ทั่วไป

ในส่วนของการ ตั้งค่าทั่วไป ตรงนี้ เราจะมาแก้ไขตรง ชื่อเว็บ และ คำโปรย คำอธิบาย หรือสโลแกน ของเว็บไซต์ มันเป็นการตั้งค่าที่ทำให้ผู้ใช้ หรือ Search engine รู้ว่า เว็บไซต์เราคืออะไร เกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร

  • ชื่อเว็บ : ปกติแล้วมันจะแสดงที่แท็บคำอธิบายของเบราเซอร์ (Page Title) *ปกตินิยมใช้ชื่อ โดเนม หรือไม่ชื่อ ธุรกิจ หรือชื่อแบรนด์ ของเรา
  • คำโปรย : สโลแกน หรือ คำอธิบายเกี่ยวกับเว็บไซต์สั้นๆ ได้ใจความ
  • อีเมล์แอดเดรสการบริหารงาน : ใส่อีเมลที่ใช้งานจริง

1.2 ตั้งค่า ภาษาของเว็บ, เขตเวลา, รูปแบบวันที่, วันเริ่มต้นของสัปดาห์

  • ภาษาของเว็บ : เลือก ไทย (การแสดงภาษาที่หน้าบ้าน Frontpage)
  • เขตเวลา : เมืองไทยให้เลือกเป็น UTC+7
  • รูปแบบวันที่ : เลือกแบบ วัน/เดือน/ปี
  • วันเริ่มต้นของสัปดาห์ : เลือกเป็น วันอาทิตย์ครับ

เมื่อตั้งค่าทุกอย่างเสร็จแล้วให้คลิก “บันทึกการเปลี่ยนแปลง”

1.3 ตั้งค่า ลิงค์ถาวร

ไปที่เมนูด้านซ้าย ไปที่ ตั้งค่า > คลิก ลิงค์ถาวร

ในส่วนของการตั้งค่า ลิงก์ถาวร คือ การกำหนดการแสดงผลของ URL ว่าต้องการแบบไหน เช่น เป็นตัวเลข, เป็นวันที่, หรือเป็นข้อความ แนะนำให้ตั้งค่าตามนี้เลยครับ

เสร็จแล้วให้คลิก “บันทึกการเปลี่ยนแปลง”

การติดตั้ง Theme

Theme คือ หน้าตาของเว็บไซต์นั้นเอง theme(ธีม)มีบทบาทสำคัญมากในออกแบบดีไซน์หน้าตาเว็บไซต์ของเรา ถ้าเป็นการทำเว็บในยุคก่อนๆ คงไม่มีอะไรมาก เพราะว่าเครื่องมือออกแบบ หรือทำให้ theme ของเว็บให้ดูดี มันน้อยมากๆ ต้องเขียนโค้คอย่างเดียว ยุ่งยากเอามากๆ แต่ในปัจจุบันรูปแบบของ theme ได้มีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง เพราะนอกจากทำให้เว็บไซต์ดูสวยงามแล้ว แต่ยังมีการสอดแทรกฟังก์ชั่นการทำงานต่างๆเพิ่มเข้าไปอีกด้วย

วิธีการติดตั้ง Theme

ไปที่เมนูด้านซ้าย ไปที่ รูปลักษณ์ > คลิก ธีม

เลือก “เพิ่มใหม่”

เลือก Theme ที่จะติดตั้ง

Theme ที่ผมจะติดตั้งในบทความนี้ก็คือ Theme Astra ครับ จากนั้นก็คลิก “ติดตั้ง”

รอติดตั้ง theme ให้เสร็จ

หลังจากรอการติดตั้งเสร็จแล้ว เลือก คลิกใช้งาน ได้เลย

การติดตั้ง ปลั๊กอิน

ปลั๊กอิน คือ ส่วนเสริมที่จะทำให้เว็บไซต์ WordPress ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น อยากจะให้ใช้เว็บไซต์ของเรามีเว็บเพจสวยๆ เราก็ติดตั้งปลั๊กอิน ประเภท Page Builder อย่าง Elementor อยากให้เว็บไซต์มีระบบตะกร้าสินค้า ก็ติดตั้งปลั๊กอิน WooCommerce เป็นต้น และที่สำคัญ WordPress มีปลั๊กอินฟรีให้เราเลือกใช้ตั้งมากมาย

วิธีการติดตั้ง ปลั๊กอิน

ไปที่เมนูด้านซ้าย ไปที่ ปลั๊กอิน > คลิก เพิ่มปลั๊กอินใหม่

เลือก ยอดนิยม เลือก ปลั๊กอินที่จะติดตั้ง เลือก ติดตั้งตอนนี้

ปลั๊กอิน พื้นฐานที่เราจะติดตั้ง ติดตั้งตามรายชื่อนี้เลยครับ

Astra Widgets
Starter Templates — Elementor, WordPress & Beaver Builder Templates
Elementor
Elementor Header & Footer Builder
Contact Form by WPForms

หมายเหตุ : ให้เอารายชื่อปลั๊กอิน ไปพิมพ์ค้นหา ในช่อง “ค้นหาปลั๊กอิน”ก็ได้

เมื่อเราติดตั้งปลั๊กอินครบหมดแล้ว ให้กลับไปที่ ปลั๊กอิน > คลิก ปลั๊กอินที่ติดตั้งแล้ว

  1. ติ๊กตรงช่อง ปลั๊กอิน ที่เราจะใช้
  2. เลือก ใช้งาน
  3. คลิก นำไปใช้

จบ วิธีตั้งค่าพื้นฐาน และติดตั้ง Theme กับติดตั้ง ปลั๊กอิน หลังติดตั้ง WordPress

ช่วงแนะนำ

“คอร์สเรียนออนไลน์ สอนสร้างเว็บไซต์ด้วย WordPress”

คอร์สนี้เหมาะกับสำหรับผู้เริ่มต้น ไม่มีประสบการณ์ สามารถเรียนรู้ได้ทันที สอนแบบ Step by Step ทีละขั้น-ทีละตอน สอนละเอียดมากครับ เรียนจบ คุณได้เว็บสวยๆ ไว้ใช้งานได้เลยทันที

คุณจะสามารถดูรายละเอียดคอร์สได้ที่นี่ >> คอร์สเรียนออนไสน์ สอนสร้างเว็บไซต์ด้วย WordPress

แต่ถ้าต้องการอะไรที่ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น

ซึ่งเหมาะมากสำหรับคนที่ไม่มีเวลาทำเอง อยากให้ผมช่วยออกแบบและสร้างเว็บไซต์ให้ เช่นเคยครับ ผมขอแนะนำ

“บริการรับออกแบบ ทำเว็บไชต์ด้วย wordpress ราคาประหยัด”

คุณเข้าไปอ่านรายได้ละเอียดบริการได้ที่นี่ >> รับทำเว็บไซต์ WordPress

และในบทความถัดไป ผมจะมาแนะนำวิธีติดตั้ง Templates ให้กับ wordpress ครับ

ถ้ารู้สึกชอบใจ หรือเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ อย่าลือกดแชร์บทความนี้ให้กับผู้เขียนด้วยครับ ขอบคุณครับ

Similar Posts

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *